วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

 
บ้ 
ชื่อวิทยาศาสตร์  : Sesbania grandiflora Desv.
ชื่อวงศ์
PAPILIONACEAE
ชื่อท้องถิ่น : แคขาว แคแดง (เหนือ) แค แคดอกแดง แคดอกขาว

ลักษณะเป็นไม้ยืนต้น สูง 5-10 เมตร ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว เรียงสลับ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 3-4 ซม. ดอก ออกเป็นช่อที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกมีขนาดใหญ่ ยาว 8-10 เซนติเมตร มี 2 ชนิดคือ ดอกสีขาว และดอกสีแดง ผลเป็นฝักยาว

การขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

ส่วนที่นำมาเป็นยา
ดอก ยอดอ่อน และฝักอ่อน

สารเคมีและสารอาหารสำคัญ

มีฟอสฟอรัส แคลเซียม เหล็ก เบต้าแคโรทีน วิตามินเอ ซี บี1 บี2 โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และใยอาหาร
 
สรรพคุณทางยา
และวิธีใช้

ยอดอ่อน ใบอ่อน ดับพิษร้อนถอนพิษไข้ ดอก มีรสหวานออกขมเล็กน้อย สรรพคุณแก้ไข้หัวลม เปลือกต้น มีรสฝาด รักษาอาการท้องเดิน แต่ถ้ากินมากๆ จะทำให้อาเจียนได้ ราก น้ำจากรากนำมาผสมกับน้ำผึ้ง เป็นยาขับเสมหะ


  แก้ไข้หัวลม แก้ร้อนใน: ใช้ยอดแคอ่อน ดอกแคไม่แกะไส้ แกง หรือลวกเป็นผักจิ้ม
  แก้ท้องเดิน : ใช้เปลือกต้นปิ้งไฟ ต้มกับน้ำ หรือน้ำปูนใส 10 ส่วน รับประทาน 1-2 ช้อนโต๊ะ
  แก้แผลมีหนอง : ใช้เปลือกต้นแคที่แก่ ๆ ตากแห้ง ฝนกับน้ำสะอาดหรือน้ำปูนใส ทาแผล เช้า - เย็น ก่อนทายาควรใช้น้ำต้มเปลือกแคล้างแผลก่อน จะช่วยให้แผลหายไวขึ้น
  ยาล้างแผล : ใช้เปลือกแคต้มกับน้ำเดือดนาน 15 นาที เติมเกลือเล็กน้อย ใช้ล้างแผล วันละ 3 ครั้ง
  แก้บิด แก้ท้องเสีย : ใช้เปลือกแค 2-3 ชิ้น ขนาดเท่าฝ่ามือ ต้มกับน้ำเดือดประมาณ 15 นาที โดยใช้น้ำ 2-3 ขัน ใช้หม้อดินต้ม กินยาขณะยังอุ่นอยู่ กิน 1-2 แก้ว วันละ 3 เวลา
  แก้ฟกช้ำ : ใช้ใบสดตำให้ละเอียดพอกบริเวณที่เป็น
  ปวดฟัน รำมะนาด : ใช้เปลือกแคต้ม ใส่เกลือให้เค็มจัด นำมาอม
  ตานโขมย : ใช้แคทั้งห้าอย่าง ๆ ละ 1 กำมือ ใส่น้ำท่วมยาต้มให้เดือดนาน 5-10 นาที กินวันละ 3 ครั้ง ๆ ละ 1 ช้อนโต๊ะ ประมาณครึ่งเดือน

























แหล่งที่มา   http://www.Boonrarat.net 








 

วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สรรพคุณของขิง


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingiber officinale Roscoe        

ชื่อวงศ์ : Zingiberaceae

ชื่อสามัญ : Ginger

ชื่ออื่น : ขิงแกลง, ขิงแดง (จันทรบุรี), ขิงเผือก (เชียงใหม่), สะเอ (แม่ฮ่องสอน), ขิงบ้าน, ขิงแครง, ขิงป่า, ขิงเขา, ขิงดอกเดียว(ภาคกลาง), เกีย (จีนแต้จิ๋ว)      

 ลักษณะ : เป็นพืชล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีนวลมีกลิ่นหอมเฉพาะ แทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นเป้นกอประกอบด้วยกาบหรือโคนใบหุ้มซ้อนกัน ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันเป็นสองแถว ใบรูปหอกเกลี้ยงๆ กว้าง 105 - 2 ซม. ยาว 12 - 20 ซม. หลังใบห่อจีบเป็นรูปรางนำปลายใบสอบเรียวแหลม โคนใบสองแคบและจะเป็นกาบหุ้มลำต้นเทียม ตรงช่วงระหว่างกาบกับตัวใบจะหักโค้งเป็นข้อศอก ดอก สีขาว ออกรวมกันเป็นช่อรูปเห็ดหรือกระบองโบราณ แทงขึ้นมาจากเหง้า ชูก้านสูงขึ้นมา 15 - 25 ซม. ทุกๆ ดอกที่กาบสีเขียวปนแดงรูปโค้งๆ ห่อรองรับ กาบจะปิดแน่นเมื่อดอกยังอ่อน และจะขยายอ้าให้ เห็นดอกในภายหลัง กลีบดอกและกลีบรองกลีบดอก มีอย่างละ 3 กลีบ อุ้มน้ำ และหลุดร่วงไว โคนกลีบดอกม้วนห่อ ส่วนปลายกลีบผายกว้างออกเกสรผู้มี 6 อัน ผล กลม แข็ง โต วัดผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม.
                                                                         
                           
การขยายพันธุ์ : ใช้เหง้า ปลูกในดินร่วนซุยผสมปุ๋ยหมัก หรือดินเหนียวปนทราย โดยยกดินเป็นร่องห่างกัน 30 ซม. ปลูกห่างกัน 20 ซม. ลึก 5 - 10 ซม. ขิงชอบขึ้นในที่ชื้นมีการระบายน้ำดี ถ้าน้ำขังอาจโดนโรคเชื้อรา
ส่วนที่นำมาเป็นยา : เหง้าแก่สด

สรรพคุณ  

เหง้า: รสหวานเผ็ดร้อน ขับลม แก้ท้องอืด จุกเสียด แน่นเฟ้อ คลื่นไส้อาเจียน แก้หอบไอ ขับเสมหะ แก้บิด เจริญอากาศธาตุ สารสำคัญในน้ำมันหอมระเหย จะออกฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ ใช้เหง้าแก่ทุบหรือบดเป็นผง ชงน้ำดื่ม แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้จุกเสียด แน่นเฟ้อ เหง้าสด ตำคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำมะนาว เติมเกลือเล็กน้อย จิบแก้ไอ ขับเสมหะ                
ต้น : รสเผ็ดร้อน ขับลมให้ผายเรอ แก้จุกเสียด แก้ท้องร่วง               
ใบ : รสเผ็ดร้อน บำรุงกำเดา แก้ฟกช้ำ แก้นิ่ว แก้ขัดปัสสาวะ แก้โรคตา ฆ่าพยาธิ                ดอก : รสเผ็ดร้อน แก้โรคประสาทซึ่งทำให้ใจขุ่นมัว ช่วยย่อยอาหาร แก้ขัดปัสสาวะ                ราก : รสหวานเผ็ดร้อนขม แก้แน่น แก้ศอเสมหะ เจริญอาหาร แก้ลม แก้เสมหะ แก้บิด                 
ผล : รสหวานเผ็ด บำรุงน้ำนม แก้ไข้ แก้คอแห้ง เจ็บคอ แก้ตาฟาง เป็นยาอายุวัฒนะ
  
         

ขนาดและวิธีใช้ :

  • ไอระคายคอจากเสมหะ วิธีที่ 1 เหง้าขิงแก่ 2 หัวแม่มือ หรือ 5 กรัม ฝนกับน้ำมะนาว กวาดคอ ถ้าจะใช้จิบบ่อย ๆ ให้เติมน้ำพอควร

    วิธีที่ 2 เหง้าขิงแก่ 2 หัวแม่มือ หรือ 5 กรัม ตำเติมน้ำ คั้นเอาแต่น้ำแทรกเกลือ ใช้กวาดคอ ถ้าจะใช้จิบบ่อย ๆ ให้เติมน้ำพอควร
    แก้ปากเหม็น คั้นผสมน้ำอุ่นและเกลือเล็กน้อย อมบ้วนปาก ฆ่าเชื้อโรคในปาก
  • แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ท้องผูก ขับลม คลื่นไส้อาเจียน และอาการเมารถเมาเรือ นำเหง้าขิงแก่สด 50 กรัม ทุบให้แตก นำไปต้มกับน้ำ 2 แก้ว รินดื่มแต่น้ำ วันละ 3 ครั้ง
  • ปวดกระเพาะอาหาร ใช้เหง้าขิง น้ำตาลทรายแดง และพุทราแห้ง ต้มดื่มวันละครั้ง
  • ผมร่วง หัวเริ่มล้าน ใช้เหง้าสดนำมาผิงไฟให้อุ่น ตำพอกบริเวณที่ผมร่วง วันละ 2 ครั้ง ประมาณ 3 วัน ถ้ายังไม่ดีขึ้นให้พอกต่อไปสักระยะ
  • แก้สะอึก ใช้ขิงสดตำให้ละเอียด คั้นเอาน้ำมาผสมกับน้ำผึ้ง คนให้เข้ากัน ทำเป็นน้ำขิงสดรับประทาน
  • ขับเหงื่อ นำขิงแก่มาปอกเปลือกฝานเป็นชิ้นบางๆ นำไปตากในที่ร่มจนแห้ง (2 วัน) เอาขิงแห้ง 3 กรัม ไปต้มกับน้ำ 1 แก้วจนเดือด เป็นเวลา 3 นาที เอาเฉพาะส่วนน้ำมาเติมน้ำตาลทรายขาว
  • แก้ตานขโมย นำขิง พริกไทย ใบกะเพรา ไพล มาบดผสมกันรับประทาน
  • แก้ไข้ ร้อนใน ใช้ลำต้นที่แก่สดทุบแตกประมาณ 1 กำมือ ต้มน้ำดื่ม
  • ถูกแมงมุมกัด แผลที่บีบน้ำเหลืองออก ใช้ขิงฝานเป็นแผ่นบางๆ นำมาวางทับบริเวณที่เป็น
  • แก้ไอ ขิงแก่ยาว 2 นิ้ว ทุบพอแหลก เทน้ำเดือดลงไป ครึ่งแก้ว ปิดฝาตั้งไว้ 5 นาที รินเอาแต่น้ำดื่ม ระหว่างอาหารแต่ละมื้อ หรือนำเหง้าขิงมาฝานเป็นแผ่นจิ้มเกลือรับประทาน
  • กำจัดกลิ่นรักแร้ ใช้เหง้าขิงแก่มาทุบ คั้นเอาแต่น้ำขิง ทารักแร้เป็นประจำจะช่วยกำจัดกลิ่นที่ไม่พึงปรารถนา
  • แผลเริมบริเวณหลัง ใช้เหง้า 1 หัว เอามาเผาจนผิวนอกเป็นถ่าน คอยปาดถ่านที่ผิวนอกออก เผาและปาดไปเรื่อยๆ นำผงถ่านที่ได้ผสมกับน้ำดีหมูใช้ทาบริเวณที่เป็น
  • ฟกช้ำจากการหกล้ม หรือกระทบกระแทก ให้ใช้เหง้าสดมาตำกับเหล้าพอก หรือใช้น้ำคั้นจากใบสด 1 ถ้วย ตังกุย 100 กรัม บดเป็นผงผสมกับเหล้ากินติดต่อกันประมาณ 3 วัน
  • หนังมือลอกเป็นขุย ให้ใช้เหง้าสดมาหั่นเป็นแผ่น นำมาแช่เหล้า 1 ถ้วยชา ทิ้งไว้นาน 24 ชั่วโมง เอาแผ่นขิงที่ผ่านการแช่มาถูกทาตามบริเวณที่เป็น วันละ 2 ครั้ง
  • แก้หวัด นำขิงแก่ขนาดประมาณหัวแม่มือ ทุบให้แตก หั่นเป็นแว่นต้มน้ำ 1 แก้ว ใช้ไฟอ่อนๆ ต้มน้ำให้เดือดนาน 5 นาที เสร็จแล้วตักขิงออก เติมน้ำเพิ่มเล็กน้อย ดื่มขณะยังอุ่น ทำอย่างนี้ 3 เวลา เช้า - กลางวัน - เย็น
  • พยาธิตัวกลมจุกลำไส้ ใช้น้ำขิงผสมน้ำผึ้งดื่ม
  • ข้อควรระวัง : การใช้น้ำสกัดจากขิงที่เข้มข้นมากๆ จะให้ผลตรงข้ามคือ จะไประงับการบีบตัวของลำไส้ จนทำให้ลำไส้หยุดบีบตัว ดังนั้นการดื่มน้ำที่สกัดจากขิงไม่ควรใช้น้ำเข้มข้นมากเกินไป เพราะจะไม่ให้ผลในการรักษาตามที่ต้องการ

         

 

 แหล่งที่มา http://www.learners.in.th/blogs/posts/503747

 

ชนิดเมฆ (Cloud Type)

             ชนิดของเมฆ เป็นสัญญาณที่สำคัญของกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชั้นบรรยากาศ เมฆชี้ให้เห็นถึงอากาศชื้นที่กำลังเคลื่อนตัวสูงขึ้น และอาจจะมีหยาดน้ำฟ้าเกิดขึ้นได้ เมฆมักให้สัญญาณว่าสภาพอากาศจะมีการเปลี่ยนแปลง เช่น เมฆที่มีฐานเมฆสีเทา-ดำ มักจะทำให้เกิดฝนตก
 
การเรียกชื่อเมฆ
               การเรียกชื่อเมฆจะเรียกตามระดับความสูงและลักษณะรูปร่างของก้อนเมฆ ซึ่งเมฆสามารถแบ่งตามระดับความสูง (Altitude) ของฐานเมฆ (Cloud Base) ได้ออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่
1. เมฆระดับสูง เรียกว่า เซอร์โร (Cirro) หรือเซอร์รัส (Cirrus) ในบริเวณแถบโซนร้อนจะอยู่ที่ความสูง 6,000 - 18,000 เมตร (20,000 - 60,000 ฟุต) ขึ้นไป จึงทำให้เห็นเมฆชนิดนี้มีขนาดเล็กกว่าเมฆชนิดอื่นๆ ส่วนใหญ่จะมีสีขาวหรือเทาอ่อน และเกิดขึ้นในบรรยากาศที่คงที่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก เป็นเมฆซึ่งไม่ทำให้เกิดฝน แต่ส่วนใหญ่จะเป็นเกล็ดน้ำแข็ง
 
2. เมฆระดับกลาง เรียกว่า อัลโต (Alto) ในบริเวณแถบโซนร้อนจะอยู่ที่ความสูงระหว่าง 2,000 - 8,000 เมตร (6,500 -26,000 ฟุต) มีส่วนประกอบหลักคือ หยดน้ำ และมีน้ำแข็งบางส่วน แสงอาทิตย์ส่องผ่านเมฆชนิดนี้ได้
 
3. เมฆระดับต่ำ เรียกว่า สตราโต (Strato) อยู่ใกล้ผิวโลกมากที่สุด ในบริเวณแถบโซนร้อนจะอยู่ที่ความสูงไม่เกิน 2,000 เมตร (ผิวพื้น - 6,500 ฟุต) จะสามารถมองเห็นว่ามีขนาดใหญ่กว่าเมฆชนิดอื่นๆ เมฆในกลุ่มนี้อาจจะมีสีดำและเป็นสีเทามากกว่าเมฆในระดับกลางและระดับสูง
 
 
เมฆแบ่งตามลักษณะรูปร่าง
     เมฆแบ่งตามลักษณะรูปร่างได้ 2 แบบ คือ
     1. เมฆก้อน เรียกว่า คิวมูโล (Cumulo) หรือคิวมูลัส (Cumulus) มีลักษณะเป็นก้อนรวมตัวกันคล้ายปุยฝ้ายหรือดอกกะหล่ำ
     2. เมฆแผ่น เรียกว่า สตราโต (Strato) หรือสตราตัส (Stratus) มีลักษณะเป็นแผ่นแบนแผ่คล้ายแผ่นสำลี
นอกจากนี้ เรายังเรียกเมฆที่มีฐานเมฆสีเทา-ดำ ทำให้เกิดฝนตกว่า นิมโบ (Nimbo) หรือ นิมบัส (Nimbus)
 
                                         
                                        cloud

                                       ตารางแสดงลักษณะเมฆก้อน เมฆแผ่น และเมฆฝน


1. เมฆชั้นต่ำ (Low Clouds) เกิดขึ้นที่ระดับต่ำกว่า 2 กิโลเมตร

เมฆสเตรตัส (Stratus)
เมฆแผ่นบาง ลอยสูงเหนือพื้นไม่มากนัก เช่น ลอยปกคลุมยอดเขามักเกิดขึ้นตอนเช้า
หรือหลังฝนตก บางครั้งลอยต่ำปกคลุมพื้นดิน เราเรียกว่า “หมอก”

เมฆสเตรโตคิวมูลัส (Stratocumulus)
เมฆก้อน ลอยติดกันเป็นแพ ไม่มีรูปทรงที่ชัดเจน มีช่องว่างระหว่างก้อนเพียงเล็กน้อย
มักเกิดขึ้นเวลาที่อากาศไม่ดี และมีสีเทา เนื่องจากลอยอยู่ในเงาของเมฆชั้นบน

เมฆนิมโบสเตรตัส (Nimbostratus)
เมฆแผ่นสีเทา เกิดขึ้นเวลาที่อากาศมีเสถียรภาพ ทำให้เกิดฝนพรำๆ ฝนผ่าน หรือฝนตกแดดออก
ไม่มีพายุฝนฟ้าคะนอง ฟ้าร้องฟ้าผ่า มักปรากฏให้เห็นสายฝนตกลงมาจากฐานเมฆ

2. เมฆชั้นกลาง (Middle Clouds) เกิดขึ้นที่ระดับสูง 2 - 6 กิโลเมตร

เมฆอัลโตคิวมูลัส (Altocumulus)
เมฆก้อน สีขาว มีลักษณะคล้ายฝูงแกะ ลอยเป็นแพ มีช่องว่างระหว่างก้อนเล็กน้อย

เมฆอัลโตสเตรตัส (Altostratus)
เมฆแผ่นหนา ส่วนมากมักมีสีเทา เนื่องจากบังแสงดวงอาทิตย์ ไม่ให้ลอดผ่าน
และเกิดขึ้นปกคลุมท้องฟ้าเป็นบริเวณกว้างมาก หรือปกคลุมท้องฟ้าทั้งหมด

3. เมฆชั้นสูง (High Clouds) เกิดขึ้นที่ระดับสูงมากกว่า 6 กิโลเมตร

เมฆเซอโรคิวมูลัส (Cirrocumulus)
เมฆสีขาว เป็นผลึกน้ำแข็ง มีลักษณะเป็นริ้วคลื่นเล็กๆ มักเกิดขึ้นปกคลุมท้องฟ้าบริเวณกว้าง

เมฆเซอโรสเตรตัส (Cirrostratus)
เมฆแผ่นบาง สีขาว เป็นผลึกน้ำแข็ง ปกคลุมท้องฟ้าเป็นบริเวณกว้าง โปร่งแสง
บางครั้งหักเหแสง ทำให้เกิดดวงอาทิตย์ทรงกลด และดวงจันทร์ทรงกลด เป็นรูปวงกลม สีคล้ายรุ้ง

เมฆเซอรัส (Cirrus)
เมฆริ้ว สีขาว รูปร่างคล้ายขนนก เป็นผลึกน้ำแข็ง มักเกิดขึ้นในวันที่มีอากาศดี ท้องฟ้าเป็นสีฟ้าเข้ม

4. เมฆก่อตัวในแนวตั้ง (Clouds of Vertical Development)

เมฆคิวมูลัส (Cumulus)
เมฆก้อนปุกปุย สีขาวเป็นรูปกะหล่ำ ก่อตัวในแนวตั้ง เกิดขึ้นจากอากาศไม่มีเสถียรภาพ
ฐานเมฆเป็นสีเทาเนื่องจากมีความหนามากพอที่จะบดบังแสง จนทำให้เกิดเงา
มักปรากฏให้เห็นเวลาอากาศดี ท้องฟ้าเป็นสีฟ้าเข้ม

เมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus)
เมฆก่อตัวในแนวตั้ง พัฒนามาจากเมฆคิวมูลัส มีขนาดใหญ่มากปกคลุมพื้นที่ครอบคลุมทั้งจังหวัด
ทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง หากกระแสลมชั้นบนพัดแรง ก็จะทำให้ยอดเมฆรูปกะหล่ำ
กลายเป็นรูปทั่งตีเหล็ก ต่อยอดออกมาเป็น เมฆเซอโรสเตรตัส หรือเมฆเซอรัส

 

cloud copy.jpg



“เมฆ” เกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการยกตัวของอากาศเท่านั้น
กลไกที่ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของอากาศ ในแนวดิ่งเช่นนี้ มี 4 กระบวนการ ดังนี้

1. สภาพภูมิประเทศ (terrain)
เมื่อกระแสลมปะทะภูเขา อากาศถูกบังคับให้ลอยสูงขึ้น (เนื่องจากไม่มีทางออกทางอื่น)
จนถึงระดับควบแน่นก็จะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ

ดังเราจะเห็นได้ว่า บนยอดเขาสูงมักมีเมฆปกคลุมอยู่ ทำให้บริเวณยอดเขามีความชุ่มชื้นและอุดมไปด้วยป่าไม้

และเมื่อกระแสลมพัดผ่านยอดเขาไป อากาศแห้งที่สูญเสียไอน้ำไป จะจมตัวลงจนมีอุณหภูมิสูงขึ้น
ภูมิอากาศบริเวณหลังภูเขาจึงเป็นเขตที่แห้งแล้ง เรียกว่า “เขตเงาฝน” (Rain shadow)



1อากาศยกตัวเนื่องจากสภาพภูมิประเทศ.jpg
1. เมฆ จาก สภาพภูมิประเทศ สภาพ ภูมิประเทศ (terrain)

2. การเกิดเมฆ จากแนวปะทะ ของอากาศ (cold front / warm front)

อากาศร้อนมีความหนาแน่นต่ำกว่าอากาศเย็น
เมื่ออากาศร้อนปะทะกับอากาศเย็น อากาศร้อนจะเสยขึ้น
และอุณหภูมิลดต่ำลงจนถึงระดับควบแน่น ทำให้เกิดเมฆและฝน
ดังเราจะเคยได้ยินข่าวพยากรณ์อากาศที่ว่า
ลิ่มความกดอากาศสูง (อากาศเย็น) ปะทะกับลิ่มความกดอากาศต่ำ (อากาศร้อน) ทำให้เกิดพายุฝน



2อากาศยกตัวเนื่องจากแนวปะทะอากาศ.jpg
2. เมฆ จากแนวปะทะ ของอากาศ(cold front / warm front)


3. เมฆจาก อากาศบีบตัว (convergence)

เมื่อกระแสลมพัดมาปะทะกัน อากาศจะยกตัวขึ้น
ทำให้อุณหภูมิลดต่ำลงจนเกิดอากาศอิ่มตัว
ไอน้ำในอากาศควบแน่นเป็นหยดน้ำ กลายเป็นเมฆ



3อากาศยกตัวเนื่องจากอากาศบีบตัว.jpg
3. เมฆจาก อากาศบีบตัว (convergence)

4. เมฆ จากการพาความร้อน (thermal)

พื้นผิวของโลกมีความแตกต่างกัน จึงมีการดูดกลืนและคายความร้อนไม่เท่ากัน
จึงมีผลทำให้กลุ่มอากาศที่ลอยอยู่เหนือมัน มีอุณหภูมิแตกต่างกันไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูร้อน
(ตัวอย่างเช่น กลุ่มอากาศที่ลอยอยู่เหนือพื้นคอนกรีตจะมีอุณหภูมิสูงกว่ากลุ่มอากาศที่ลอยอยู่เหนือพื้นหญ้า)
กลุ่มอากาศที่มีอุณหภูมิสูงมีความหนาแน่นน้อยกว่าอากาศในบริเวณโดยรอบ จึงลอยตัวสูงขึ้น
ดังเราจะเห็นว่า ในวันที่มีอากาศร้อน นกเหยี่ยวสามารถลอยตัวอยู่เฉยๆ โดยไม่ต้องขยับปีกเลย



4อากาศยกตัวเนื่องจากการพาความร้อน.jpg
4. เมฆ จากการพาความร้อน (thermal)

ในการบินร่มร่อน เราจะสนใจ เมฆคิวมูลัส
ที่เกิดจากสถาพถูมิประเทศ(terrain) และการพาความร้อน(thermal)
เนื่องจากมีแรงยกสูง พอที่จะทำให้ร่มลอยขึ้นฟ้าได้
โดยที่ไม่ต้องใช้เครื่องยนต์ใดฯ บินเงียบกว่านกอีก
เพราะนกยังต้องกระพือปีก Very Happy

แต่ถ้าแรงยกสูงเกินไป ก็อันตรายครับ Evil or Very Mad
ต้องรีบหลีกออกมาก่อน จะถูกดูดเข้าไปในลมแปรปรวนสูง



00.thermal.jpg
ล่องลอย จากเมฆก้อนหนึ่ง ไปยังอีกก้อนหนึ่ง ช่างแสนสุขใจจริงฯ






แหล่งที่มา  http://www.thaiglider.com/th/story/29-cloud.html









วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556


               แมลงเป็นส่วนสำคัญของโลกอีกชนิดหนึ่ง นอกจาก พืชพรรณ มนุษย์ และสัตว์ โดยประชากรแมลง มีมากกว่ามนุษย์และสัตย์อื่นๆ ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ นับแล้วมากกว่า 30 ล้านชนิด ด้วยเหตุนี้ การแสดงในส่วนของโลกแมลง ดำเนินการโดยกรมวิชาการเกษตร จึงเป็นการแสดงที่สำคัญที่จะนำผู้ชม ไปสู่โลกแมลงจำลอง
 
ทั้งนี้แบ่งการแสดง เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่จัดแสดงแมลงมีชีวิต (Living Zone) อยู่ภายในโดมชนาดกว้าง 11 เมตร ยาว 15 เมตร สูง 4 เมตร ด้วยการสร้างกรงคลุมต้นไม้ และจำลองสภาพแวดล้อมในระบบนิเวศน์ของแมลง และส่วนจัดแสดงแมลงที่ตายแล้ว (Non-Living Zone) 

      


 
              ผู้ชมจะได้เห็นหรือมีโอกาสศึกษาชีวิตของแมลงได้อย่างเป็นระบบแบบครบวงจร นับตั้งแต่พัฒนาการของชีวิต แมลง อาหาร และระบบนิเวศน์ของแมลง ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างใหญ่หลวงต่อมนุษย์ สัตว์ และพืช นอกจากนี้ ยังมีนิทรรศการแสดงแมลงที่หาชมได้ยาก และมีความแปลก เช่น ผีเสื้อนางละเวง ที่มีความสวยงาม และขนาดใหญ่มาก การจัดแสดงแมลงมีพิษที่เป็นอันตราย เช่น ผึ้ง และต่อหัวเสือ การแสดงนิทรรศการให้ความรู้ แผนผังวงจรชีวิตของแมลงแต่ละชนิดที่จัดเป็นกลุ่มในจำพวกเดียวกับแมลงชนิดไหน ใกล้ชิดกับพันธุ์ใด หรือแมงกับแมลงต่างกันอย่างไร เป็นต้น
 



 แหล่งที่มา :  http://www.royalflora2011.com/siteroyal/insect.html


ประโยชน์ของผักใบเขียว


        “ผักใบเขียวมีประโยชน์ต่อร่างกายมาก ทานให้เยอะๆนะคะ” คำพูดที่คุณครูสอนเรามาตั้งแต่เด็กๆ จำได้ขึ้นใจ เพื่อนๆก็คงได้ยินกันมานานเช่นกันใช่ไหมครับ บางท่านก็ฟังไปแบบนั้นแหละ ไม่ชอบทานผักทั้งๆที่รู้ว่ามีประโยชน์ บางคนมาเริ่มทานกันเมื่อตอนอายุมากแล้ว วันนี้เราจะมาทบทวนกันอีกครั้งว่าผักใบเขียวมีประโยชน์ต่อร่างกายของเราอย่างไรบ้าง และมาดูกันว่าผักใบเขียวมีอะไรบ้าง ... ตามมาเลยคะ

           ผักทุกชนิดมีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผักใบเขียว สีเขียวในผักประกอบไปด้วยคลอโรฟิลล์ เบต้าแคโรทีนและวิตามินอีซึ่งมีสารช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคมะเร็ง อีกทั้งยังช่วยบำรุงหัวใจและหลอดเลือด ช่วยบำรุงสมองและความจำ ชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่างๆ ควบคุมสมดุลของระดับแคลเซียม เป็นต้น

ตัวอย่าง ของผักใบเขียวเช่น คะน้า บล็อกโคลี ผักโขม กวางตุ้ง กะหล่ำปลี ชะอม ซึ่งผักเหล่านี้สามารถหาซื้อได้ทั่วไป ตั้งแต่ตลาดสดจนถึงซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำ ราคาก็ไม่สูง ดังนั้นการรับประทานผักใบเขียวเหล่านี้นอกจากจะเป็นผลดีต่อสุขภาพกายแล้ว ยังเป็นผลดีต่อสุขภาพกระเป๋า (ตังค์) อีกด้วย

ประโยชน์ของการรับประทานผักใบเขียว  ไม่ได้มีเพียงแค่ที่กล่าวมาข้างต้น แต่ผักใบเขียวและผักทุกชนิดที่มีกากใยอาหารสูงยังช่วยให้การขับถ่ายเป็นไปอย่างปกติ ไม่เป็นโรคท้องผูก อึดอัดท้อง ท่านที่มีปัญหาเรื่องระบบขับถ่ายแนะนำเลยครับ ลองทานผักใบเขียวหรือผักที่มีเส้นใยสูง ระบบขับถ่ายจะกลับมาทำงานได้ปกติ ความพรั่งพรูจะเกิดกับท่านทุกเช้า สมกับที่มีคนกล่าวไว้ว่า เวลาที่มีความสุขที่สุดคือเวลาที่ได้ถ่ายทุกข์นั่นเอง
 ที่มา : http://www.ความรู้รอบตัว.net